วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

วันที่ 26 พฤษภาคม 2559

Diary Note No.11


วิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
( Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood )
อารจารย์ผู้สอน  อ.กฤต  แจ่มถิน
ประจำวัน  พุธที่  26 พฤษภาคม 2559
เรียนครั้งที่  11  เวลา  08.30 -12.30 น.
กลุ่ม  102  ห้อง 224

Learning Content  (เนื้อหาการเรียนรู้)


โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized 

Education Program)


แผน IEP

  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา

การเขียนแผน IEP
  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
  • เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP


IEP ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก

  • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
  • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
3. การใช้แผน
4. การประเมินผล 


ตัวอย่างแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
                                                    

                                                    

                                                
  ตัวอย่างบางส่วนค่ะ  





กิจกรรมวาดรูประบายสีวงกลม ทายนิสัย



ประโยชน์ที่ได้รับ

ได้นำเนื้อหาที่เรียนในวันนี่ไปปรับใช้ในอนาคตอันใกล้ที่จะมาถึงได้ค่ะ

การประเมินผลเพื่อน

เพื่อนๆตั้งใจเขียนแผนกันเ็นอย่างมากและชอบที่ทำวงล้อทายนิสีด้วยค่ะตรงบ้างไม่ตรงบ้างสนุกดีค่ะ

การประเมินผลครู

แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีสื่อมาทำให้สนุกได้ตลอด เนื้อหาไม่ยากเกินไปค่ะ

วันที่ 20 พฤษภาคม 2559

Diary Note No.10


วิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
( Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood )
อารจารย์ผู้สอน  อ.กฤต  แจ่มถิน
ประจำวัน  พุธที่   2559
เรียนครั้งที่ 10 เวลา  08.30 -12.30 น.
กลุ่ม  102  ห้อง 224

Learning Content  (เนื้อหาการเรียนรู้)



การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ




    1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา

    2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม3. การบำบัดทางเลือก



    การสื่อความหมายทดแทน

    • การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies) 
    • โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS) 
    • เครื่องโอภา (Communication Devices) 
    • โปรแกรมปราศรัย



    บทบาทของครู
    • ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู 
    • ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
    • จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
    • ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง 




    การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ


    1. ทักษะทางสังคม

    2. ทักษะภาษา

    3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

    4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน




    ประโยชน์ที่ได้รับ




    ได้รู้วิธีเกี่ยวกับการรับมือหากต้องเจอกับเด็กพิเศษประเภทนี้นอกจากนี้เนื้อหายังเป็นความรู้ที่สามารถต่อยอดได้อีกด้วย




    การประเมินผลเพื่อน


    เพื่อนๆทุกคนแม้จะเป็นเวลาเรียนก็ยังมีคุยกันบ้างมันคือเรื่องที่ปกติไปแล้วสำหรับพวกเราแต่ถึงแม้จะคุยเพื่อนๆก็มีความตั้งใจที่จะเรียนค่ะ




    การประเมินผลครู


    อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เนื้อหาเหมาะสมกับการศึกษาเนื้อหาไม่มากจนเกินไปเนื้อหาไม่สับสนเข้าใจง่าย 


    วันที่ 30 มีนาคม 2559

    Diary Note No.9


    วิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
    ( Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood )
    อารจารย์ผู้สอน  อ.กฤต  แจ่มถิน
    ประจำวัน  พุธที่   30 มีนาคม  2559
    เรียนครั้งที่  9  เวลา  08.30 -12.30 น.


    กลุ่ม  102  ห้อง 224

    Learning Content  (เนื้อหาการเรียนรู้)


    รูปแบบการจัดการศึกษา
    • การศึกษาแบบปกติทั่วไป (Regular Education) รร.ทั่วๆ ไป
    • การศึกษาพิเศษ (Special Education) ส่วนใหญ่อยู่ในมหาวิทยาลัย
    • การศึกษาแบบเรียนร่วม (Inteagrated Education หรือ Mainstreaming)
    • การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)



    การจัดการศึกษาสำหรับเด็กมีความต้องการพิเศษ

    • เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้ารับโอกาสในการเรียนที่เหมาะสมกับความต้องการของเขา
     


    ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม(Integrated 

    Education หรือ Mainstreaming)
    • การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
    • มีกิจกรรมให้เด็กพิเศษกับเด็กปกติทั่วไปได้ทำร่วมกัน
    • ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
    • ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน



    การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) 
    • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
    • เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ 
    • เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้ 



    การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming) 
    • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน 
    • เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ



    ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive 

    Education)
    • การศึกษาสำหรับทุกคน
    • รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา 
    • จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล




    สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
    • เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
    • เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
    • เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน  (Education for All)




    ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับเด็กปฐมวัย
    • ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
    • “สอนได้”
    • เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด




    บทบาทครูปฐมวัย ในห้องเรียนรวม

    ครูไม่ควรวินิจฉัย
    • การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
    • จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
    • ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
    • เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
    • ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
    • เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
    ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
    • พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
    • พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
    • ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
    • ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
    • ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
    ครูทำอะไรบ้าง
    • ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
    • ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
    สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
    • จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
    สังเกตอย่างมีระบบ
    • ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
    • ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
    • ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
    การตรวจสอบ
    • จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
    • เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
    • บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
    ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
    • ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
    • ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
    • พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
    การบันทึกการสังเกต
    • การนับอย่างง่ายๆ
    • การบันทึกต่อเนื่อง
    • การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
    การนับอย่างง่ายๆ
    • นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
    • กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
    • ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
    การบันทึกต่อเนื่อง
    • ให้รายละเอียดได้มาก
    • เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
    • โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
    การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
    • บันทึกลงบัตรเล็กๆ
    • เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
    การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
    • ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
    • พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
    การตัดสินใจ
    • ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
    • พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

    กิจกรรมวาดภาพดอกบัว


    ประโยชน์ที่ได้รับ

    ได้เห็นเทคนิคใหม่ๆในการเรียนการสอนทำให้สามารถนำไปปรับใช้ต่อไปในอนาคตได้ 


    การประเมินผลเพื่อน

    เพื่อนๆทุกคนแม้จะเป็นเวลาเรียนก็ยังมีคุยกันบ้าง แต่ทุกคนเมื่อต้องทำกิจกรรมหรือเนื้อหาที่สำคัญทุกคนก็สนใจและทำออกมาได้เป็นอย่างดี 


    การประเมินผลครู

    สำหรับอาจารย์มีการเตรียมความพร้อมทางด้านของเนื้อหามาได้ดีมากๆ พร้อมนำเทคนิคใหม่ๆมานำเสนอตลอด

    วันที่ 23 มีนาคม 2559

    Diary Note No.8


    วิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
    ( Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood )
    อารจารย์ผู้สอน  อ.กฤต  แจ่มถิน
    ประจำวัน  พุธที่   23 มีนาคม  2559
    เรียนครั้งที่  8  เวลา  08.30 -12.30 น.


    กลุ่ม  102  ห้อง 224


                                           ประกาศผลการสอบปลายภาค

    วันที่ 16 มีนาคม 2559

    Diary Note No.7


    วิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
    ( Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood )
    อารจารย์ผู้สอน  อ.กฤต  แจ่มถิน
    ประจำวัน  พุธที่  16 มีนาคม  2559
    เรียนครั้งที่   7 เวลา  08.30 -12.30 น.
    กลุ่ม  102  ห้อง 224

      สอบปลายภาค วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

    วันที่ 9 มีนาคม 2559

    วิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
    ( Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood )
    อารจารย์ผู้สอน  อ.กฤต  แจ่มถิน
    ประจำวัน  พุธที่   9 มีนาคม 2559
    เรียนครั้งที่  6  เวลา  08.30 -12.30 น.
    กลุ่ม  102  ห้อง 224

    Learning Content  (เนื้อหาการเรียนรู้)



    ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

     เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and EmotionalDisorders)

    • มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
    • แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
    • มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
    • เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินาน ๆ ไม่ได้
    • เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
    • ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย

       ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
    • ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
    • ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
    • ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต 

       การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
              
         ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
    • ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
    • ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
    • กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
    • เอะอะและหยาบคาย
    • หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
    • ใช้สารเสพติด
    • หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ

         ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration) 
    • จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที
    • ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
    • งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
         สมาธิสั้น (Attention Deficit)
    • มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
    • พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
    • มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
         การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
    • หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
    • เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
    • ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
         ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย(Function Disorder)
    • ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder)
    • การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation)
    • การปฏิเสธที่จะรับประทาน
    • รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
    • โรคอ้วน (Obesity)
    • ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)
         ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
    • ขาดเหตุผลในการคิด
    • อาการหลงผิด (Delusion)
    • อาการประสาทหลอน (Hallucination)
    • พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง
         สาเหตุ
    • ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology)
    • ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)
         ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
    • ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
    • รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
    • มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
    • มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์
    • แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
    • มีความหวาดกลัว


      เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
    • เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
    • เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)


    เด็กสมาธิสั้น


                                               

     Inattentiveness สมาธิสั้น
    • ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ
    • ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ
    • มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย
       Hyperactivity ซนไม่อยู่นิ่ง
    • ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
    • เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
    • เหลียวซ้ายแลขวา
       Impulsiveness หุนหันพลันแล่น
    • ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
    • ขาดความยับยั้งชั่งใจ
    • ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ


     เด็กพิการซ้อน

                                                


    • เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
    • เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
    • เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
    • เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด



    ประโยชน์ที่ได้รับ

    การเริ่มเรียนเรื่องของเด็กพิเศษการที่เรารู้จักความหมายของสิ่งที่เราเรียนถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะศึกษาต่อไปและเพื่อเป็นการรู้ข้อมูลเบื้องต้นของแต่่ะกลุ่มอากสรเพื่อเราจะได้รับมือเมื่อเจอเด็กพิเศษเหล่านี้จริงๆ


    การประเมินผลเพื่อน

    เพื่อนๆแต่งกายถูกระเบียบเป็นส่วนมากตั้งใจเรียนกันทุกคน


    การประเมินผลครู

    สำหรับอาจารย์มีการเตรียมความพร้อมทางด้านของเนื้อหามาได้ดีมากๆ แต่งกายสุภาพ มาสอนตรงเวลาเลิกสอนตรงเวลาตลอดค่ะ